วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

8.1 การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ 

            ความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
               ผลดีของความร่วมมือระหว่างประ...    อ่านต่อ


      การแลกเปลี่ยนร่วมมือระหว่างกัน

ไทย – สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548

1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างกา...
อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษยชน

        สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และสมภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค


      คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
      คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษUnited Nations Human Rights Council; ย่อ: UNHRC) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลในระบบสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นแทนหน่วยงานเดิม คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights หรือ UNCHR) และสังกัดสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีทำงานใกล้ชิดกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน และมีส่วนร่วมในระเบียบวาระพิเศษ (special procedures) ของสหประชาชาติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กฎหมาย

6.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

 

รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิก

6.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประชาชน
   บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้  เพื่อใช้พิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลว่ามีสัญชาติไทยจริง  บัตรประจำตัวประชาชนจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ  เช่น  การทำนิติกรรมสัญญา  การสมัครงาน  การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  การทำหนังสือเดินทาง  การทำใบอนุญาตขับขี่  ฯลฯ  ถ้าไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้วจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการพิสูจน์ตัวบุคคลและการติดต่อการงานต่างๆ 
กฎหมายกำหนดให้คนที่มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุครบ  ๑๕  ปีบริบูรณ์  แต่ไม่เกิน  ๗๐  ปีบริบูรณ์  และมีชื่อในทะเบียนบ้าน  ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน  โดยยื่นขอทำบัตรประชาชนได้ที่ที่ว่าการอำเภอ  หรือกิ่งอำเภอของท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่
การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน  นับแต่
    ๑. วันที่อายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์  ตัวอย่างเช่น  นายขาวเกิดวันที่    มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๒๙  นายขาวจะมีอายุครบ  ๑๕  ปีบริบูรณ์ในวันที่    มกราคม  พ.ศ. ๒๕๔๔  ดังนั้น  นายขาวต้องยื่นคำขออย่างช้า  ภายใน  ๒  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๔
    ๒. วันที่ได้สัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทย  ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติหรือวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้สัญชาติไทย
    ๓. วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
    ๔. วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น  (บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน  ได้แก่  พระภิกษุ  ข้าราชการ  และนักโทษ)
เมื่อพ้นกำหนดการยื่นขอทำบัตรปะจำตัวประชาชนตาม (๑)  (๒)  (๓)  และ  (๔)  จะต้องถูกปรับไม่เกิน  ๕๐๐  บาท
บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุ    ปี  นับตั้งแต่วันออกบัตรไปจนครบ    ปีบริบูรณ์  หลังจากบัตรหมดอายุให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้  จนถึงวันครบรอบวันเกิด  หลังจากนั้นต้องไปขอเปลี่ยนบัตรใหม่  ภายใน  ๖๐  วันนับแต่วันครบรอบวันเกิด  อย่างไรก็ตาม  ผู้ถือบัตรจะขอมีบัตรใหม่ก่อนที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้  โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน  ๖๐  วันก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
ผู้ถือบัตรที่ต้องการมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตร  แล้วแต่กรณีสามารถยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด  ๖๐  วันนับตั้งแต่
๑. วันที่บัตรหารหรือถูกทำลาย
๒. วันที่บัตรชำรุดในสาระสำคัญ
๓. วันที่แก้ไขชื่อตัว  ชื่อสกุล  หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน  ในกรณีที่มีการย้ายที่อยู่  ผู้ถือบัตรจะขอเปลี่ยนบัตรใหม่ได้   

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

5.1 ความหมายของรัฐ
      รัฐ คือ สมาคมของมนุษย์จำนวนหนึ่งครอบครองดินแดนแห่งหนึ่งที่มีอาณาเขตแน่นอน รวมกันอยู่ภายใต้รัฐบาลหนึ่ง ถ้าเป็นกิจการภายในเป็นองค์การแสดงออกซึ่งอธิปไตย แต่ถ้าเป็นกิจการภายนอกเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของรัฐบาลอื่น


5.2 การตรวจสอบการใช่อำนาจรัฐ
      ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ เพื่อเผยแพร่ให้มีการพิจารณาให้ข้อคิดเห็น เพื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาในขั้นตอนการแปรญัตติก่อนที่จะเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความสมบูรณ์สำหรับให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้ออกเสียงประชามติต่อไปนั้น. เมื่อมาพิจารณาถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วจะพบว่าต้องการที่จะแก้ปัญหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ก่... (อ่านต่อ)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลเมืองดี

4.1 ความสำคัญของพลเมืองดี
         พลเมืองดีมีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างมาก  โดยอาจแยกกล่าวถึงความสำคัญของพลเมืองดีได้ 3 ประการ
             1.) ด้านสังคม  การเป็นพลเมืองดีจะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสันติสุข  เพราะคนในสังคมจะช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อย  และร่วมกันพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า  หลีกเลี่ยงความขัดแย้งในสังคม  พลเมืองที่ดีจะปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่พลเมืองที่ประพฤติไ... (อ่านต่อ)





4.2 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี
       1. ทราบถึงความสำคัญของการเป็นพลเมืองดี
       2. เข้าใจวัตถุประสงค์ของการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี
       3. เข้าใจค่านิยมพื้นฐานการเป็นพลเมืองดีในสังคมไทย
       4. เข้าใจการวิเคราะห์พระบรมราโชวาทคุณธรรมสี่ประการ
       5. เข้าใจลักษณะของพลเมืองตามประเพณีและวัฒนธรรมไทย
       6. เข้าใจแนวทางการส่งเสริมบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม

  3.1 วัฒนธรรม


        การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมขึ้นมาย่อมต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มมีระเบียบแบบแผนที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มให้อยู่ในขอบเขตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สิ่งที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนนี้เราเรียกว่า "วัฒนธรรม" ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนอาภรณ์ห่อหุ้มร่างกายตกแต่งคนให้น่าดูชม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับคนเสมอไป (อ่านต่อ)

  3.2 วัฒนธรรมไทย
        วัฒนธรรม หมายถึง  วิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย  ซึ่งเป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงานและการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ  ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้  เข้าใจ  ซาบซึ้ง ยอมรับ  และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย  ได้แก่ (อ่านต่อ)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางสังคม

  2.1 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
        สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ (อ่านต่อ)




 2.2 ปัญหาทางสังคม
        ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น (อ่านต่อ)


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สังคม

  1.1 โครงสร้างทางสังคม

           สังคมมนุษย์แม้ว่าจะมีขนาดของสังคมหรือลักษณะเฉพาะของสังคมแตกต่างกัน แต่เมื่อกล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไปหรือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเบื้องต้นแล้ว ทุกสังคมต่างมีองค์ประกอบสำคัญอยู่บนพื้นฐานสองประการที่สำคัญคือกลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม




  
        โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคม แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตา... (อ่านต่อ)


  1.2 การจัดระเบียบทางสังคม
ความหมาย
        การจัดระเบียบทางสังคมชี้ไปถึงการกระทำร่วมกันอย่างสงบในหมู่ชนที่แตกต่างกันในสังคม คนส่วนมากทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นอุปสรรคและการยอมรับตามบทบาทและตำแหน่งอันมีอยู่ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นอกจากนั้น สมาชิกของสังคมควรมีรูปแบบในจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย และแผนต่าง ๆ ร่วมกัน

ตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoff “การจัดระเบียบทางสังคมเป็นการรวมส่วนที่แตกต่างกันของคนให้ปฏิบัติหน้าที่กันเป็นกลุ่ม การกระทำที่คิดขึ้นเพื่อการได้มาบางสิ่งที่เราทำ”

ความสำคัญของการจัดระเบียบทางสังคม 
มนุษย์กับสังคมเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป กล่าวคือ เมื่อมนุษย์เกิดขึ้นในโลก มนุษย์ก็ได้รวมอยู่เป็นสังคม แต่เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น จึง... (อ่านต่อ)

  1.3 การขัดเกลาทางสังคม
           เป็นกระบวนการทางสังคมกับทางจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการ เด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสังคม สามารถอยู่ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น ทำ ให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติเป็นมนุษย์ผู้มีวัฒนธรรม มีสภาพต่างจากสัตว์โลก...(อ่านต่อ)