6.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ
อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ
รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิก
6.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประชาชน
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้ เพื่อใช้พิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลว่ามีสัญชาติไทยจริง บัตรประจำตัวประชาชนจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การทำนิติกรรมสัญญา การสมัครงาน การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การทำหนังสือเดินทาง การทำใบอนุญาตขับขี่ ฯลฯ ถ้าไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้วจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการพิสูจน์ตัวบุคคลและการติดต่อการงานต่างๆ
กฎหมายกำหนดให้คนที่มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยยื่นขอทำบัตรประชาชนได้ที่ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอของท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่
การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่
การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่
๑.
วันที่อายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ตัวอย่างเช่น นายขาวเกิดวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ นายขาวจะมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ดังนั้น นายขาวต้องยื่นคำขออย่างช้า ภายใน
๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
๒. วันที่ได้สัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติหรือวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้สัญชาติไทย
๓. วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
๔. วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น (บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ และนักโทษ)
เมื่อพ้นกำหนดการยื่นขอทำบัตรปะจำตัวประชาชนตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) จะต้องถูกปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุ ๖ ปี นับตั้งแต่วันออกบัตรไปจนครบ ๖ ปีบริบูรณ์ หลังจากบัตรหมดอายุให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ จนถึงวันครบรอบวันเกิด หลังจากนั้นต้องไปขอเปลี่ยนบัตรใหม่ ภายใน ๖๐ วันนับแต่วันครบรอบวันเกิด อย่างไรก็ตาม ผู้ถือบัตรจะขอมีบัตรใหม่ก่อนที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน ๖๐ วันก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
ผู้ถือบัตรที่ต้องการมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตร แล้วแต่กรณีสามารถยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด ๖๐ วันนับตั้งแต่
๑. วันที่บัตรหารหรือถูกทำลาย
๒. วันที่บัตรชำรุดในสาระสำคัญ
๓. วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน ในกรณีที่มีการย้ายที่อยู่ ผู้ถือบัตรจะขอเปลี่ยนบัตรใหม่ได้
๒. วันที่ได้สัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติหรือวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้สัญชาติไทย
๓. วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
๔. วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น (บุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ และนักโทษ)
เมื่อพ้นกำหนดการยื่นขอทำบัตรปะจำตัวประชาชนตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) จะต้องถูกปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท
บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุ ๖ ปี นับตั้งแต่วันออกบัตรไปจนครบ ๖ ปีบริบูรณ์ หลังจากบัตรหมดอายุให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ จนถึงวันครบรอบวันเกิด หลังจากนั้นต้องไปขอเปลี่ยนบัตรใหม่ ภายใน ๖๐ วันนับแต่วันครบรอบวันเกิด อย่างไรก็ตาม ผู้ถือบัตรจะขอมีบัตรใหม่ก่อนที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน ๖๐ วันก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
ผู้ถือบัตรที่ต้องการมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตร แล้วแต่กรณีสามารถยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนด ๖๐ วันนับตั้งแต่
๑. วันที่บัตรหารหรือถูกทำลาย
๒. วันที่บัตรชำรุดในสาระสำคัญ
๓. วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน ในกรณีที่มีการย้ายที่อยู่ ผู้ถือบัตรจะขอเปลี่ยนบัตรใหม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น